www.semi-shop.com/knowledge/knowledge_detail.php?sk_id=104
Arduino กับพื้นฐานการควบคุมความเร็วมอเตอร์เบื้องต้น |
การควบคุมความเร็วมอเตอร์กระแสตรงนั้นสามารถจะทำได้ง่ายๆ โดยใช้วิธีลดระดับแรงดันให้ต่ำลงกว่าแรงดันปกติ ก็จะทำให้มอเตอร์หมุนช้าลงได้ โดยทั่วไปแล้วในการปรับความเร็วมอเตอร์กระแสตรงแบบง่ายๆ จะมีวงจรปรับความเร็วมอเตอร์ซึ่งจะทำการกำเนิดสัญญาณความถี่ ที่แตกต่างกันออกไป แล้วไปขับวงจรขับมอเตอร์ทำให้มอเตอร์หมุนช้า เร็วได้ การปรับความเร็วรอบด้วยความถี่ ในการทดลองนี้จะใช้สร้างสัญญาณความถี่แบบง่ายๆในการปรับความเร็ว เพราะ เมื่อความถี่เปลี่ยนไป แรงดันที่ตกคร่อมที่มอเตอร์จะลดลงทำให้มอเตอร์หมุนช้าลงไปด้วย ซึ่งค่า % จะเรียกว่า ค่า Duty cycle และ การสร้างความถี่แบบนี้ เราจะเรียกว่า PWM ( Pulse Width Modulation) Duty cycle 100 % มอเตอร์จะหมุนด้วยความเร็วเต็มที่ ( ความเร็วปกติ) Duty cycle 75 % มอเตอร์จะหมุนด้วยความเร็ว ลดลงมา Duty cycle 50 % มอเตอร์จะหมุนด้วยความเร็ว ลดลงมา Duty cycle 30 % มอเตอร์จะหมุนด้วยความเร็วช้ามาก หรือ อาจจะหยุดหมุนได้ วงจรในการทดสอบ ในการทดสอบวงจรนั้นจะใช้วงจรเดียวกันกับวงจรการขับมอเตอร์ทั่วไป ในการทดสอบจะทดลองตั้งที่ความถี่ใช้งาน 50Hz ซึ่งจะได้ค่าเวลา 20 mS โดยจะกำหนดค่า Duty cycle 3 ค่าดังนี้ Duty cycle ประมาณ 5% มอเตอร์จะหมุนช้า digitalWrite(led1,HIGH); delay(4); digitalWrite(led1,LOW); delay(16); ++++++++++++++++ Duty cycle ประมาณ 50% มอเตอร์จะหมุนเร็วขึ้น digitalWrite(led1,HIGH); delay(10); digitalWrite(led1,LOW); delay(10); ++++++++++++++++++++ Duty cycle ประมาณ 90% มอเตอร์จะหมุนเร็ว digitalWrite(led1,HIGH); delay(19); digitalWrite(led1,LOW); delay(1); ++++++++++++++++ ตัวอย่าง code ที่ใช้ในการทดสอบ int led1 = 13; void setup() { pinMode(led1,OUTPUT); } void loop() { for (int i=0; i <= 200; i++) { digitalWrite(led1,HIGH); delay(4); digitalWrite(led1,LOW); delay(16); } for (int i=0; i <= 200; i++) { digitalWrite(led1,HIGH); delay(10); digitalWrite(led1,LOW); delay(10); } for (int i=0; i <= 200; i++) { digitalWrite(led1,HIGH); delay(19); digitalWrite(led1,LOW); delay(1); } } ในการออกแบบความถี่จะต้องเลือกค่าที่เหมาะสมกับตัวมอเตอร์นั้นๆ ด้วยครับ หรืออาจจะออกแบบไว้ที่ 100Hz – 1000Hz ก็ได้ ครับ ลองทำดูนะครับ สำหรับการใช้งาน mode PWM จริงๆนั้นจะได้กล่าวถึงในบทความตอนต่อๆไปครับ ขอให้สนุกกับการทดลองครับ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น